วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มคำ หรือ วลี

    กลุ่มคำ หรือ วลี หมายถึง การนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงกัน มีใจความไม่สมบูรณ์เพราะขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ประธาน หรือ ภาคแสดง จึงไม่ถือเป็นประโยค

กลุ่มคำ หรือ วลี สามารถแบ่งออกได้เป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๑. นามวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำนาม
   เช่น เด็กหลายคน
๒. สรรพนามวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำสรรพนาม
   เช่น เราทุกคน
๓. กริยาวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำกริยา
   เช่น ไปแต่เช้าตรู่
๔. วิเศษณ์วลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำวิเศษณ์
   เช่น งามเหลือหลาย
๕. บุพบทวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำบุพบท
   เช่น หน้าบ้าน
๖. สันธานวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำสันธาน
   เช่น เพราะเหตุนี้
๗. อุทานวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำอุทาน
   เช่น ว้าย คุณพระช่วย



วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

ย้อนหลัง 16 กันยายน 2556


 ประโยค
   
    ประโยค คือ การนำคำตั้งเเต่ ๒ คำขึ้นไป มาเรียงต่อกันเเล้วได้ใจความสมบูรณ์ ประโยคประกอบด้วยภาคประธาน และภาคแสดง
๑.  ภาคประธาน ได้แก่ ส่วนที่เป็นผู้กระทำเเละอาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้
๒.  ภาคเเสดง ได้แก่ ส่วนที่บอกอาการ หรือบอกสภาพของประธาน อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก้ได้
๓.  ส่วนขยายของประโยค อาจเป็นคำหรือกลุ่มคำอยู่ในภาคประธาน หรืออยู่ในภาคเเสดง ซึ่งอาจเป็นการขยายกริยา ขยายกรรม หรือขยายส่วนเติมเต็ม
ตัวอย่างประโยค
๑.  น้องเล่นคอมพิวเตอร์อย่างสนุกสนาน
      น้อง(ภาคประธาน) เล่นคอมพิวเตอร์ (ภาคเเสดง) อย่างสนุกสนาน (ส่วนขยาย)
๒.  พี่ชายของฉันทำงานหนักมาก
      พี่ชาย (ภาคประธาน) ทำงาน (ภาคแสดง) ของฉัน, หนักมาก (ส่วนขยาย)
๓.  เด็กคนนั้นเดินลัดสนามหญ้า
      เด็ก (ภาคประธาน) เดินลัด (ภาคเเสดง) คนนั้น,สนามหญ้า (ส่วนขยาย)
๔.  คุณยายหัวเราะจนเห็นเหงือก
      คุณยาย (ภาคประธาน) หัวเราะ (ภาคแสดง) จนเห็นเหงือก (ส่วนขยาย)
  อาจินต์เดินเล่นที่ชายหาดบางแสน
     อาจินต์ (ภาคประธาน) เดินเล่น (ภาคเเสดง) ที่ชายหาดบางเเสน (ส่วนขยาย)
๖.  เด็กๆ นั่งเล่นอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่
      เด็กๆ (ภาคประธาน) นั่งเล่น (ภาคเเสดง) อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ (ส่วนขยาย)

 รูปประโยคที่ใช้สื่อสารในภาษาไทย
๑.  ประโยคที่เน้นผู้กระทำ คือ ประโยคที่มีประธานขึ้นต้นประโยคก่อนภาคเเสดง เช่น
      ฝน ตกตอนเย็น
      ใคร ซื้อก๋วยเตี๋ยวมา
      เก่ง เล่นฟุตบอล
๒.  ประโยคเน้นผู้ถูกกระทำ คือ ประโยคที่มีกรรมขึ้นต้นประโยคก่อน เพื่อเน้นความสำคัญของกรรม เช่น
      รถยนต์คันนี้ มีคนจองแล้ว
      การบ้าน ฉันลืมส่ง
      ฉัน ถูกเเม่ดุ
๓.  ประโยคเน้นกริยา คือ ประโยคที่มีบทกริยาขึ้นต้นประโยค ต้องการเน้นให้กริยาเด่น และขึ้นต้นประโยคด้วยว่า "เกิด มี ปรากฏ" เช่น
     เกิด ระเบิดในจังหวัดชายเเดนภาคใต้
     ปรากฎ ดาวหางในท้องฟ้า ด้านทิศตะวันตก
๔.  ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง คือ ประโยคที่ละประธานไว้ จะขึ้นต้นประโยคด้วยคำกริยาที่ผู้สั่ง หรือขอร้องให้ทำ เช่น
     อย่า เสียงดัง
     โปรด ช่วยกันประหยัดน้ำ
     ปิด แอร์ทุกครั้งหลังใช้งาน
     ดื่ม นมให้หมดแก้ว

ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร
     ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารโดยทั่วไป จำแนกตามเจตนาของผู้ส่งสารได้ตามชนิดของประโยค คือ ประโยคเเจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ บอกให้ทำ
ประโยคเเจ้งให้ทราบ
  ลักษณะของประโยค
๑.  เป็นประโยคบอกเล่า ต้องการเเจ้งให้ทราบว่า ใครทำอะไร หรือใครใรสภาพอย่างไร เกิดอะไร ที่ไหน กับใคร เมื่อไร เช่น
      ฉัน นั่งเรือ ไปท่าพระอาทิตย์
      ค่าไฟฟ้าเดือนนี้ เเพงมาก
 ๒.  เป็นประโยคปฏิเสธ รูปประโยคชนิดนี้เหมือนประโยคบอกเล่า แต่เพิ่มคำว่า "ไม่" หรือ "มิได้" หรือ "ไม่ได้" ลงในประโยค เช่น
      แม่ ไม่ ขายที่ดินแปลงนั้น
      ผม ไม่ได้ เล่นเทนนิส
ประโยคถามให้ตอบ
ลักษณะของประโยค
๑.  ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความใหม่จากผู้รับสาร คำแสดงคำถามลักษณะนี้ ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม เช่น
      ทำไม เธอไม่ไปเที่ยวทะเลกับพวกเรา
      ใคร เป็นคนเขียนกระดานเล่นเเบบนี้
      วันนี้พี่จะกลับตอน ไหน ครับ
๒.  ต้องการคำตอบยอมรับหรือปฏิเสธ คำแสดงคำถามลักษณะนี้ ได้แก่ รึ หรือไม่ ใช่หรือไม่ หรือเปล่า โดยคำจะอยู่หลังประโยค เช่น
      เขาเป็นดาราเกาหลี รึ
      หนูจะกินข้าวมันไก่ ใช่หรือไม่
      เราจะไปเที่ยวกัน หรือเปล่า
๓.  ต้องการคำตอบ โดยให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คำแสดงคำถามลักษณะนี้ ได้แก่ หรือ หรือว่า อยู่ในประโยคและคำตอบนั้น จะมีอยู่ในประโยค เช่น
      ลูกจะกินผัดไทย หรือ ราดหน้า
      เราจะไปรถยนต์ หรือ รถไฟ
       พี่จะไปทางซ้าย หรือ ทางขวา
๔.  ไม่ต้องการคำตอบ ลักษณะของประโยคเช่นนี้จะใช้คำที่เป็นคำถาม เช่น ใคร อะไร อย่างไร ฯลฯ โดยถามเพื่อเร้าความสนใจ ไม่ให้ประโยคห้วนเกินไป หรือเพื่อเริ่มการสนทนา หรือเพื่อเเสดงความรู้สึกไม่พอใจ เช่น
      นี่รู้ อะไร ไหม โจ้จะย้ายบ้านเเล้วนะ
      เดี๋ยวนี้ ใครๆ  เขาก็ฟังเอ็มพีสามกันหมดเเล้ว
บอกให้ทำ
ลักษณะของประโยค
๑.  เป็นประโยคคำสั่งที่มีเฉพาะภาคเเสดง เช่น
     หยิบเสื้อให้ด้วย
     ห้ามทิ้งขยะ
๒.  เป็นประโยคขอร้อง จะมีคำว่า โปรด กรุณา อย่า อยู่ในประโยค เช่น
     โปรด ช่วยกันรักษาสิ่งเเวดล้อม
     กรุณา ฝากข้อความหลังได้ยินสัญญาณ
     อย่า กลับบ้านดึกนักนะ




ย้อนหลัง 9 กันยายน 2556

อักษรนำ

อักษรนำ
      อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ จะอ่านออกเสียง อะ  กึ่งเสียง พยัญชนะตัวหลังจะอ่านออกเสียงตามสระที่ประสม และอ่านออเสียงวรรณยุกต์ติดตามมาพยัญชนะตัวแรก เช่น   ขยับ    ขะ - หยับ  
, จมูก    จะ - หมูก    ,   ฉลาม ฉะ - หลาม ,  ตลาด  ตะ หลาด   ,  อย่า อยู่ อย่าง อยาก
          หง-หญ-หน-หม-หย-หร-หล-หว เป็นพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เรียกว่า อักษรนำ ตัว ห เป็นอักษรนำ ไม่อ่านออกเสียง แต่อ่านออกเสียงอักษรตัวหลังตามอักษรนำ
  คำที่มี ห นำ ง   เช่น 
         บุหงา เหงาหงอย รากเหง้า แหงนหน้า เจ็บเหงือก หงุดหงิด สัปหงก เดือนหงาย
กลัวหงอ หง่างเหง่ง หงอนไก่ ใบหงิก หงุงหงิง หงึกหงึก หงิมหงิม เหงื่อไหล รากเหง้า ผมหงอก หงุบหงับ เมาหงำ แก่หง่อม
   คำที่มี ห นำ ญ  เช่น
         ผู้หญิง ยิ่งใหญ่ ใบหญ้า
   คำที่มี ห นำ น  เช่น
       เสื้อหนา น้อยหน่า ใบหน้า เบื่อหน่าย เหน็ดเหนื่อย หน้าหนาว มีหนวด ใครหนอ ริมหนอง มีหนาม ใบหนาด หนักหน่วง เป็นเหน็บ ตัวหนอน หูหนวก ดูหนัง ทิศเหนือ ไปไหน ไล่หนี เป็นหนี้ นิดหน่อย อิ่มหนำ กระหน่ำ เป็นหนุ่ม หนูหนุ่ย อุดหนุน ดินเหนียว
  คำทีมี ห นำ ม  เช่น 
          ห่อหมก เงินหมด หม่นหมอง สวมหมวก ตีหมา กินหมาก หมวดหมู่ ดูหมอ สมหมาย
เสื้อใหม่ ในหม้อ สายหมอก มีหมอน ใบหม่อน ม้าหมุน นอนหมอบ กำหมัด เป็นหมัน
หมั่นหา ปะหม่า คว้าหมับ หมักหมม แม่หม้าย หลายหมื่น เข็มหมุด น้องหมวย ผ้าไหม ไฟไหม้ แหวนหมั้น
   คำที่มี ห นำ ย  เช่น
    ใบหยก น้ำหยด หยิบหย่ง หยิกหยอก ตัดหยวก หมูหยอง หยุดหย่อน สวนหย่อม วิ่งหยอย หยักศก 
ขาหยั่ง
  หยากไย่ ใบหย่า หยาบคาย เหยียดหยาม เย่อหยิ่ง ลูกหยี หยุกหยิก หยุมหยิม หยูกยา หยาดเหงื่อ กระหยิ่ม
   คำที่มี ห นำ ร  เช่น
     บุหรี นี่หรือ หรูหรา จิ้งหรีด หนูหริ่ง สำหรับ ขี้เหร่  สึกหรอ
  คำที่มี ห นำ ล  เช่น
        บุญเหลือ เสื้อเหลือง สองโหล ห้าหลา แซ่หลี เกาเหลา หมู่เหล่า มีเหล้า รูปหล่อ หลอกล่อ ลืมหลง พุ่งแหลน ติดหล่ม นอนหลับ ข้าวหลาม งูเหลือม เจ้าหล่อน วิ่งหลบ เสื้อหลวม น้ำไหล หัวไหล่ ทีหลัง หลั่งมา หลากหลาย ตกหลุม ประหลาด ปลาหลด
   คำที่มี ห นำ ว  เช่น
      เสียงหวอ หาวหวอด จังหวะ มีหวัง เป็นหวัด หวาดหวั่น ว้าเหว่ ระหว่าง หวั่นไหว ของหวาน วาบหวาม เส้นหวาย หวุดหวิด หวิวหวิว นกหวีด สองหวี แมลงหวี่ เสียงหวูด  หวือหวา ไถหว่าน ต้นหว้า ไหว้พระ แหวกว่าย




ย้อนหลัง 2 กันยายน 2556

                               เครื่องหมายวรรคตอน
    เครื่องหมายวรรคตอน หมายถึงเครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในการคั่นข้อความต่างๆ หรือเเบ่งวรรคเพื่อประโยชน์ในการเขียนหรืออ่านข้อความได้ถูกต้องชัดเจน
เครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้
๑.  มหัพภาคหรือจุด ( . ) ใช้เขียนหลังอักษรย่อหรือคำย่อ เช่น
      กทม.  (กรุงเทพมหานคร)                           โทร.    (โทรศัพท์)
      พ.ศ.    (พุทธศักราช)                                   ร.ร.      (โรงเรียน)
      ส.ส.    (สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร)              ด.ช.    (เด็กชาย)
การเขียนตัวย่อหรือคำย่อต้องเป็นคำที่รู้จักกันทั่วๆ ไป การอ่านอักษรย่อ หรือคำย่อต้องอ่านเต็มคำ
นอกจากนี้ ยังใช้เขียนไว้หลังตัวเลขหรืออักษรที่บอกจำนวนข้อ เช่น
      ๑.  เขียนเเนวคิดให้กระจ่าง
      ๒.  ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ
      ๓.  เรียบเรียงเนื้อความให้สมบูรณ์
และเขียนไว้หลังตัวเลข บอกจุดทศนิยมหรือเศษของจำนวนเต็ม เช่น
      ๔.๐๐        อ่านว่า      สี่จุดศูนย์ศูนย์
      ๑๑.๔๐     อ่านว่า      สิบเอ็ดจุดสี่ศูนย์
๒.  สัญประกาศหรือขีดเส้นใต้ (             ) ใช้ขีดเส้นใต้คำถามหรือข้อความเพื่อเเสดงให้รู้ว่าเป็นตอนสำคัญหรือควรสังเกต เช่น
      นักเรียนคิดว่าการกระทำของสุนัขจิ้งจอกดีหรือไม่
     เขาไม่ใช้คนใจน้อย เเต่เขารู้สึกน้อยใจ
๓.  ไปยาลใหญ่ ( ฯลฯ ) ใช้เขียนหลังคำหรือข้อความที่ยังไม่จบ ยังมีข้อความต่อไปและข้อความนั้นจะต้องเป็นประเภทเดียวกัน การอ่านเครื่องหมาย ฯลฯ ให้อ่านเครื่องหมายนี้ว่า ละ เช่น 
       ฉันชอบกินผลไม้หลายชนิด เช่น เเตงโม ส้ม ฯลฯ 
       อ่านว่า ฉันชอบกินผลไม้หลายชนิด เช่น เเตงโม ส้ม ละ
๔.  ไปยาลน้อย ( ฯ ) ใช้เขียนท้ายคำเพื่อละความส่วนหลังซึ่งทำให้คำสั้นลงเเต่เวลาอ่านต้องอ่านเต็มทั้งข้อความเช่น
      เข้าเฝ้าฯ         อ่านว่า        เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
      น้อมเกล้าฯ     อ่านว่า        น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
      กรุงเทพฯ        อ่านว่า       กรุงเทพมหานคร
๕.  ยัติภังค์ ( - ) เป็นเครื่องหมายต่อคำ มีดังนี้
      ๕.๑  ใช้สำหรับขีดท้ายส่วนเเรกของคำที่อยู่สุดบรรทัดกับส่วนท้ายของคำที่อยู่อีกบรรทัดหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นคำเดียวกัน (แต่ไม่นิยมใช้) เช่น
      ในสมัยก่อนคนไทยมีวิถีชีวิตอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสำนวนภาษา ธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ ที่สอด-คล้อง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
      ๕.๒  ใช้เเยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน เช่น
               วานร อ่านว่า วา-นอน
               เพลา (แปลว่า เวลา) อ่านว่า เพ-ลา 
      ๕.๓  ใช้กำหนดข้อความหรือหัวข้อย่อย เช่น
               ประโยคประกอบด้วย ๒ ภาค ดังนี้
               -  ภาคประธาน
               -  ภาคเเสดง
      ๕.๔  ถ้าใช้กับตัวเลขจะเเทนคำว่า ถึง เช่น
               โรงเรียนกำหนดวันหยุดสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๔ เมษายน นี้
๖.  ทับ ( / ) ใช้คั่นระหว่างตัวเลข เพื่อเเบ่งความหมายของตัวเลขที่อยู่หน้าเเละหลัง เช่น
      ป. ๕/๒  อ่านว่า  ปอ-ห้า-ทับ-สอง
      หมายถึง  ชั้นประถามศึกษาปีที่    ห้องที่ 
      บ้านเลขที่  ๔๗/๕๒  อ่านว่า  บ้าน-เลก-ที่-สี่-สิบ-เจ็ด-ทับห้า-สอง 
      หมายถึง  บ้านเลขที่ ๔๗ หลังที่ ๕๒
๗.  บุพสัญญา ( " ) ใช้เขียนเเทนคำหรือข้อความที่เหมือนกับคำหรือข้อความในบรรทัดบน การอ่านให้อ่านซ้ำคำหรือข้อความที่อยู่บรรทัดบน เช่น
      แบงค์       ใช้คำไทยว่า          ธนาคาร
      รถเมล์               "                    รถประจำทาง
      โฮเต็ล               "                    โรงเเรม




ย้อนหลัง 26 สิงหาคม 2556

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
       ศิลาจารึกเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่บรรพชนสมัยโบราณสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตในช่วงเวลาที่มีการจารึกศิลานั้นๆ นอกจากนี้ศิลาจารึกยังเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี การจัดลำดับความสำคัญของหลักฐานและเอกสารอ้างอิงนั้น ถือกันว่าศิลาจารึกเป็นเอกสารข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) ที่มีคุณค่าใช้อ้างอิงได้
        ศิลาจารึกเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย เท่าที่มีหลักฐานทางศักราชปรากฏอยู่ด้วยคือ จารึกเขาน้อย พบที่เขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1180 จารึกที่พบทั่วไปในประเทศไทยใช้อักษรต่างๆ กัน เช่น อักษรปัลลวะ อักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ
      จารึกที่คนไทยทำขึ้นปรากฏหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นในปีพุทธศักราช 1826 ลายสือไทยในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) เป็นจารึกอักษรไทยที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งใดจะเก่าเท่า แม้ว่าจะได้พบจารึกอักษรไทยจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฏว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมาทั้งสิ้น รูปอักษรไทยสมัยสุโขทัยได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยทั่วไปในสมัยปัจจุบัน
            จารึกรูปอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้วิวัฒนาการเป็นจารึกรูปต่างๆ คือ 

1. จารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ได้แก่จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัย จารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน
               และจารึกวัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์
          2. จารึกอักษรไทยอยุธยา เช่น จารึกแผ่นดีบุกวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
           3. จารึกอักษรไทยล้านนา เช่น จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย
           4. จารึกอักษรไทยอีสาน เช่น จารึกวัดแตนเมือง จังหวัดหนองคาย
           5. จารึกอักษรธรรม เช่น จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี 



ย้อนหลัง 19 สิงหาคม 2556

คำที่ใช้บ่อยและมักเขียนผิด

1. สำอาง 
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สำอางค์” 
2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “พากษ์” 
3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เท่ห์
4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โล่ห์” 
5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ผูกพันธ์” 
6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ลายเซ็นต์
7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ”อีเมล์” 

8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “แก๊งค์หรือไม่ก็ “แกงค์
9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อนุญาต
10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สังเกตุ” 
11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า “ออฟฟิส” ไม่ก็ “ออฟฟิต” คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “office”
12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อุดส่า” 
13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า “โครต” 
14. ค่ะ
แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มัก เขียนผิดเป็นคำว่า “คะ”  
15. เว็บไซต์
แปลว่า (มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “web” แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ “site” แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เวปไซด์” 
16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โอกาศ” 
17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เกมส์

 18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “มั้ย” 



                                                   

ย้อนหลัง 5 สิงหาคม 2556

คำราชาศัพท์
ความหมายของคำราชาศัพท์
        
    คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
2.      พระบรมวงศานุวงศ์
3.      พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
4.      ขุนนาง ข้าราชการ
5.      สุภาพชน
       
      บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำใน สังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับ ใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่ โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
       
      ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น

ภาษาที่ใช้คำราชาศัพท์
        
     คำราชาศัพท์มิได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและ ภาษาไทยของเราเอง ดังจะได้พิจารณาต่อไปนี้จากภาษาต่างประเทศ
        
    ตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันกฤต ภาษาอื่นๆก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า 3 ภาษาที่กล่าวแล้ว